สารบัญ

แบบสำรวจข้อมูลการพัฒนาตนเอง

ของบุคลากรคณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ประจำปีการศึกษา 2561

ชื่อ  นางสาวสุภัทรา  กลางประพันธ์       ตำแหน่ง  อาจารย์

 

กิจกรรม/โครงการที่เข้าร่วมพัฒนาตนเอง

วัน/เวลา/สถานที่

จำนวนชั่วโมง

ความรู้ที่ได้

การนำไปใช้ประโยชน์/บูรณาการการเรียนการสอนและพันธกิจอื่น

1. โครงการประชุมสัมมนาเรื่อง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์  และศาสตราจารย์  พ.ศ.  2560

 

 

 

 

 

 

 

 

วันศุกร์ที่  12  ตุลาคม  2561

เวลา  08.30 – 16.30  น.

ณ  ห้องโกมุท  อาคารเรียนและปฏิบัติการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

8  ชั่วโมง

ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์  รองศาสตราจารย์  และศาสตราจารย์  ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะบังคับใช้ในวันที่  1  พฤศจิกายน  2561  เป็นต้นไป  โดยมีสาระสำคัญอ้างอิงตามประกาศ  ก.พ.อ. ฉบับใหม่  พ.ศ. 2560 กำหนดคุณสมบัติให้อาจารย์ที่มีคุณวุฒิ ป.โท จะต้องดำรงตำแหน่งอาจารย์และทำการสอนมาแล้ว 4 ปี  และคุณวุฒิ ป.เอก 1 ปี  ส่วนผลงานทางวิชาการที่เสนอขอจะมีอยู่  4  ประเภทสามารถเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง  คือ  1. ผลงานวิจัย 2 เรื่อง  2. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ  3. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง  และ  4. ผลงานวิจัย 1 เรื่อง + ตำราหรือหนังสือ 1 เล่ม ซึ่งเมื่อเสนอขอด้วยวิธีปกติจะต้องมีเกณฑ์คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี

ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงตำรา/เอกสารประกอบการสอนที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนของนักศึกษา  และสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของผู้สอน  อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้พัฒนาตนเองในด้านการวิจัยเพื่อนำมาประกอบการสอนและพัฒนาความเชี่ยวชาญของตน

 

 

 

 

 

 

2. โครงการอบรมหลักสูตรจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์  ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วันที่  3 – 4  พฤศจิกายน  2561

เวลา  08.30 – 16.30  น.

ณ  ห้องประชุมโกเมน  ชั้น  3  อาคารบัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

16 ชั่วโมง (8 ชม./วัน)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ได้รับความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์  ในหัวข้อเรื่องต่อไปนี้

1.    เกณฑ์การขอความยินยอมจากอาสาสมัคร  ประกอบไปด้วยเอกสาร 2 ชุดได้แก่  เอกสารข้อมูลคำชี้แจง/อธิบายสำหรับอาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัย  และหนังสือแสดงเจตนายินยอมเข้าร่วมการวิจัย  ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาหลายข้อ 

2.    การวิจัยในบุคคลหรือกลุ่มเปาะบาง  เมื่อใดที่การวิจัยไปเกี่ยวข้องกับอาสาสมัครเปราะบาง  คณะกรรมการจริยธรรมต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ  ตาม CIOMS Guideline 15  ที่ว่าผู้วิจัยและคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยต้องมั่นใจว่ามีการใช้มาตรการปกป้องที่จำเพาะเพื่อปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้ 

3.     ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ในการวิจัยเชิงคุณภาพ  ซึ่งมีข้อพิจารณาด้านจริยธรรม  ได้แก่  หลักความเคารพในบุคคล  หลักการให้ประโยชน์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่อาสาสมัคร การรักษาความลับของอาสาสมัครหลักความยุติธรรม  อุปสรรคและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่ออาสาสมัครและความรับผิดชอบของผู้วิจัย และกระบวนการขอความยินยอมจากอาสาสมัคร

4.     แนวปฏิบัติการวิจัยที่ดีและการประพฤติที่ไม่เหมาะสมในการวิจัย  โดยนักวิจัยที่ดีต้องถือค่านิยม 4 ประการ  คือ  ความซื่อสัตย์  ความแม่นยำ  ประสิทธิภาพ  และอิงหลักฐานและความจริง  ส่วนการพฤติที่ไม่เหมาะสมในการวิจัย  คือ  การจัดสร้างข้อมูล  การดัดแปลงการวิจัยที่ไม่ถูกต้อง  และการลอกเลียนผลงาน

ภายหลังจากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว  สามารถนำความรู้ที่ได้มาบูรณาการกับการเป็นที่ปรึกษากลุ่มในรายวิชาที่ต้องให้นักศึกษาทำการศึกษาในกรณีตัวอย่าง  เช่น  รายวิชาการนวดไทย  เป็นต้น  โดยได้สอดแทรกจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการขอข้อมูลต่างๆ  ของผู้ป่วยให้นักศึกษาได้ทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความลับของผู้ป่วยและการเคารพในบุคคล  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาศักยภาพด้านการทำวิจัยด้านสังคมและพฤติกรรมศาสตร์ของตนเองได้ด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. Selection and categorization criteria for 4th round re-evaluation for TCI indexed journal (2020 – 2024)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

9 October 2018

08.30 AM – 4.30 PM

Avani Khon Khan Hotel & Convention Center, Khon Khan, Thailand

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8 ชั่วโมง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ได้รับความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินคุณภาพวารสารเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล  TCI  โดยมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา  ดังนี้

  1. เกณฑ์หลัก (เป็นเกณฑ์ที่ไม่คิดเป็นคะแนน  แต่วารสารกลุ่ม 1 ต้องผ่านเกณฑ์หลักนี้ทุกข้อ)
  • วารสารต้องออกตรงตามเวลาที่กำหนด
  • วารสารมีเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  ที่จดทะเบียนถูกต้องตามหลักสากล
  • วารสารต้องมีเว็บไซต์ที่มีข้อมูลครบถ้วน
  • บทความมีรูปแบบการตีพิมพ์ที่ได้มาตรฐาน
  1. เกณฑ์รอง (เป็นเกณฑ์ที่คิดเป็นคะแนน  โดยมีคะแนนเต็ม  20  คะแนน)
  • วารสารต้องมี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI
  • วารสารต้องมีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน
  • วารสารต้องตีพิมพ์บทความที่มีผู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
  • วารสารมีรูปแบบการอ้างอิงที่ถูกต้องตามมาตรฐาน
  • วารสารมีกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์
  • วารสารต้องมีระบบการจัดการวารสารแบบออนไลน์
  • คุณภาพของบทความในวารสาร

เกณฑ์คุณภาพอื่นๆ

ภายหลังจากเข้าร่วมอบรมในโครงการดังกล่าว  ได้นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาวารสารหมอยาไทยวิจัย  คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก  เพื่อเตรียมขอรับการประเมินคุณภาพของวารสาร  โดยเริ่มตั้งแต่การดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของเกณฑ์หลัก  และเกณฑ์รองตามที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) กำหนดขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. The 2nd International Conference on Health Science : A Muti-disciplinary Integration for Innovation and Sustainable Health Care in Communities. Theme : Sustainable Health Care Integration and Innovation

 

 

 

 

 

 

21 – 23 November 2018

09.00 AM – 05.00 PM

Convention Hall, Taksila Hotel, Mahasarakham, Thailand.

 

 

 

 

 

 

24 ชั่วโมง

(8 ชม./วัน)

 

 

 

 

 

 

 

ได้รับความรู้เกี่ยวกับสภาวะทางสุขภาพของประชากรทั้งในประเทศไทยและประเทศในอาเซียนที่กำลังก้าวไปสู่สังคมผู้ชราภาพ  ซึ่งจะนำมาซึ่งปัญหาทางสุขภาพรวมถึงโรคไม่ติดเชื้อเรื้อรัง และโรคติดเชื้อต่างๆ ที่กลับมาระบาดใหม่ตามฤดูกาล สุขภาพที่ดีสมบูรณ์จึงต้องเป็นการผสมผสาน บูรณาการศาสตร์และปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่เหมาะสมและยั่งยืนในการบริบาล และสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนที่คลอบคลุมสุขภาวะทั้ง 4 ด้านของประชาชน คือ สุขภาวะกาย จิต สังคม-อารมณ์ และจิตวิญญาณในบริบทการรักษาพยาบาล การป้องกันโรค การสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านการแพทย์แผนไทยในการบริบาลสุขภาพ

ภายหลังจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการดังกล่าว ทำให้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ทักษะ ประสบการณ์ในวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แล้วนำความรู้ที่ได้รับมาพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ เช่น วิชาเภสัชกรรมไทย 2 และเภสัชกรรมไทย 3  ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการบริบาลสุขภาพ  อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านการวิจัย  โดยได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยเรื่อง Amount of luteolin and apigenin in Enhalus acorodies (L.f.) Royle rhizome in different Thai traditional pharmacies.  ในรูปแบบโปสเตอร์อีกด้วย

 *แบบสำรวจข้อมูลการพัฒนาตนเอง ประจำปีการศึกษา 2561 ( 1 มิถุนายน 2561 - 31 พฤษภาคม 2562)